คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม
Faculty of Industrial Technology and Management
    เลือกภาษา : Language
คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
 ⭐️ Department of Information Technology (IT)

💥 “พัฒนาคน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ”

🔴 ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน นับเป็นปีที่ 25 ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์ ดร.สมพัตร์ เบ็ญจชัยพร (ปัจจุบันอาจารย์ท่านเกษียณอายุราชการแล้ว) เป็นอย่างสูง ที่ท่านได้ริเริ่มสร้างหลักสูตรของภาควิชา และให้คำแนะนำ แนวคิดต่าง ๆ ในการดำเนินงานที่ผ่านมาของภาควิชามาโดยตลอด

🔴 ภาควิชายึดถือแนวทางตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือ “บัณฑิตที่คิดเป็น ทำเป็น” และปรัชญาของคณะคือ “สร้างปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้ ความสามารถและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นบัณฑิตที่มีวินัย ความรับผิดชอบและจริยธรรมในวิชาชีพ

👉🏻 ปัจจุบันภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 3 หลักสูตร คือ

📍 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ปรับปรุงปี 2562)

✅ หลักสูตร 4 ปี จำนวน 127 หน่วยกิต รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

✅ หลักสูตรเทียบโอน 2 ปีครึ่ง จำนวน 94 หน่วยกิต รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ

📍 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ และเครือข่าย (หลักสูตรใหม่ปี 2562)

✅ หลักสูตร 4 ปี จำนวน 135 หน่วยกิต รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

✅ หลักสูตรเทียบโอน 2 ปีครึ่ง จำนวน 103 หน่วยกิต รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางช่างอุตสาหกรรม

📍 หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง) (ปรับปรุงปี 2561)

✅ หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จำนวน 81 หน่วยกิต รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางช่างอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

🔴 การเรียนการสอน
ทุกหลักสูตรของภาควิชามุ่งเน้นให้มีเรียนมีการฝึกปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักการการเขียนโปรแกรมทั้งแบบโครงสร้างและเชิงวัตถุ หลักการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายการออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง การฝึกปฏิบัติในทุกรายวิชาทำให้ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ ค้นคว้าได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้งานจริงในการฝึกงานหรือฝึกสหกิจศึกษาในสถานประกอบการได้

🔴 อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้ทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในตำแหน่งนักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล นักออกแบบกราฟิก ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรสารสนเทศ วิศวกรข้อมูล และวิศวกรเครือข่าย

 

 

หลักสูตรปริญญาตรี 4ปี

หลักสูตร เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา คุณวุฒิผู้เรียน ค่าเทอม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) 127 หน่วยกิต จบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6(ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 19,000 บาท (ประมาณ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและเครือข่าย (หลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษ) 135 หน่วยกิต จบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6(ม.6) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 25,000 บาท (ประมาณ)

หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

หลักสูตร เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา คุณวุฒิผู้เรียน ค่าเทอม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและเครือข่าย (หลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษ) 103 หน่วยกิต จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 25,000 บาท (ประมาณ)
อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 135 หน่วยกิต จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 19,000 บาท (ประมาณ)